วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Water alarm เครื่องเตือนภัยน้ำท่วม

           ย่างเข้าหน้าฝน สิ่งที่ตามมาคือน้ำท่วม บางคนมีบ้านอยู่ตามภูเขา ริมแม่น้ำ ลำคลอง เมื่อน้ำท่วมหรือน้ำป่ามาก็หนีไม่ทัน หลายคนสูญเสียบ้านเรือน ทรัพย์สิน หรือชีวิตไป...
           การมีเครื่องเตือนภัยก็จะช่วยให้เราป้องกันตัว เตรียมตัวได้ทัน ก่อนที่น้ำจะท่วมบ้านเรือนเรา  วงจรเตือนภัยน้ำท่วมนี้ เป็นวงจรง่ายๆ ใช้ IC 555 ยอดนิยมและทรานซิสเตอร์ รีเลย์ และอุปกรณ์อื่นอีกไม่กี่ตัว ก็ทำได้แล้ว
          เมื่อประกอบวงจรตามภาพเสร็จ ก็ต้องมาทำตัวเซนเซอร์หรือโพร้ป ซึ่งทำด้วยแท่งโลหะหรือสายทองแดงแข็ง ใส่ลงในท่อ PVC โผล่ปลายมาเล็กน้อยและต่อสายไฟขนาด 2X1.5 ให้ยาวเพื่อต่อไปตัววงจรหรือตัวเครื่องในตำแหน่งที่จะติดตั้งไว้ (ต้องป้องกันน้ำหรือฝนฟ้าด้วย) ในบริเวณบ้านที่มีหลังคายิ่งดี...
          ในตัววัดระดับน้ำ เราจะติดตั้งเซนเซอร์นี้ในตำแหน่งที่คาดว่าจะเริ่มมีระดับน้ำสูง  ในตำแหน่งที่ต้องการ เมื่อน้ำสูงขึ้นถึงระดับและสัมผัสกับตัวเซนเซอร์หรือโพร้ป น้ำจะนำกระแสไปตามสายไฟที่ต่อไว้ไปยังวงจร วงจรก็จะทำให้รีเลย์ขนาด 220 โวลท์ทำงาน ไปกระตุ้นออดหรือกริ่งเตือนภัย (ไซเรน) หรือไฟเตือนภัยต่อไป...
          วงจรนี้ไม่มีอะไรมากมาย มีแต่ฝีมือที่จะติดตั้งนิดหน่อย หากเราไม่ใช้โหลด (Output) เป็นไฟ AC 220V. ก็ใช้รีเลย์ 12 VDC. กับออด 12 VDC. ได้  หรือจะประกอบวงจรไซเรนไว้ใช้เองก็ได้....

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

emergency light

            หน้าฝนเริ่มเข้ามา ไฟฟ้าก็มักจะดับบ่อยๆ ใครเปิดร้านหรือมีบ้านที่ต้องใช้แสงไฟตลอดก็มักจะใช้เครื่องสำรองไฟ หรือ emergency light ราคาก็หลักพันขึ้น แต่ถ้ามีความรู้ด้านอีเลคทรอนิคส์มักจะได้เปรียบ ประกอบวงจรใช้เองก็ลดต้นทุนมหาศาล แถมยังได้ฝึกทักษะ เพิ่มความรู้ไปในตัวอีกด้วย
            วงจรนี้จะทำงานเมื่อไฟฟ้าดับ โดยมีแบตเตอรีขนาด 12 โวลท์เป็นตัวจ่ายไฟ โดยสามารถใช้แบตเตอรีได้ตั้งแต่ 4-6 แอมป์ ถ้าจะใช้สูงกว่านี้ เช่น 8 แอมป์ ต้องเปลี่ยนหม้อแปลง T1 เป็น 2 A และเปลี่ยนไดโอด D1 D2 D 5 เป็นเบอร์ 1N5401 และ R2 R3 เป็น 1 Ohm และต้องใส่ฮีทซิงค์ระบายให้ตัวไอซีด้วย
            การปรับแต่งเมื่อต่อวงจรเสร็จ ยังไม่ต้องต่อแบตเตอรี ให้เปิด SW.1 ตำแหน่ง ON (SW.2 จะต้องอยู่ตำแหน่ง OFF) จะสังเกตุว่า LED ติดสว่าง  ปรับ VR.1 ให้อ่านค่าแรงดันจากมิเตอร์ได้ 13.8 V. จากนั้นปิดสวิชท์ SW1 นำแบตเตอรีมาต่อ (ให้ถูกขั้ว) ต่อหลอดไฟ 12 โวลท์ จากนั้นกด SW.1 และ SW.2 หลอดไฟจะไม่ติด ปิดสวิชท์ SW.1 หลอดไฟจะติด ถ้าไม่ติดให้ปรับที่ VR.2  จากนั้นให้เปิดสวิชท์ SW.1 สังเกตุหลอด LED จะติด หลอดไฟที่ต่อไว้จะดับทันที 
            วงจรนี้จะมีข้อดีอีกอย่างคือ จะมีการเปรียบเทียบความสว่างโดย LDR ถึงแม้ว่ากระแสไฟจะมา แต่ถ้าในห้องมีความสว่างไม่เพียงพอ หลอดไฟก็จะติดสว่าง โดย LDR จะเป็นตัวเซนเซอร์เปรียบเทียบ และสามารถปรับค่าได้โดย VR 2 แล้วแต่เราจะกำหนดว่าแสงสว่างเพียงพอในห้องขนาดไหนถึงจะทำให้หลอดไฟสว่างได้....การใช้หลอด LED (ดูวงจรหลอด LED ในบล็อคของเรา) จะช่วยให้ประหยัดแบตเตอรีได้ยาวนาน  วงจรนี้เมื่ออยู่ในภาวะปกติจะมีการชาร์จแบตเตอรีไปในตัว...

easy equalizer อีควอไลเซอร์สุดประหยัด

บางครั้งการปรับแต่งเสียงจากโทนคอนโทรลก็อาจจะดูไม่ค่อยถูกใจนัก เพราะบางท่านอาจเป็นแค่ 2 หรือ 3 ปุ่ม (เบสส์-กลาง-แหลม) แต่ถ้าเป็นวงจรอีควอไลเซอร์แล้ว จะทำให้การปรุงแต่งเสียงดูละเอียดและชัดเจนมากขึ้น มีหลายวงจรหลายแชลแนลแล้วแต่เราจะชอบ แต่วงจรนี้เป็นวงจรที่ใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ตัว สามารถปรับแต่งความถี่เสียงได้ 5 band ตั้งแต่ความถี่เสียง 60 Hz, 300 Hz, 1 KHz, 3 KHz และ 12 KHz  มีราคาประหยัด สามารถทำแบบ 2 แชลแนล (สเตอริโอได้) ....


วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หลอดไฟ LED ปรับแสงอัตโนมัติื Auto Night Lamp Using High Power LED

วงจรนี้จะช่วยให้ในห้องเราปรับแสงอัตโนมัติ ถ้ามืดหรือค่ำลง หลอด LED จะสว่างขี้น หรือถ้าเช้า มันก็จะหรี่หรือดับลง  วงจรนี้ใช้ไฟอแดปเตอร์ 12 v. หรือจะประยุกต์ใช้วงจร 220VAC.-12VDC. ตามภาพก็ได้ LDR1 ควรให้อยู่ห่างกับหลอด LED เพื่อให้มันรับแสงจากภายนอกได้เต็มที่...

ชาร์จมือถือจากพอร์ตยูเอสบี USB Mobile Charger Circuit

การใช้พอร์ต USB ในการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือนอกจากจะเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลแล้วยังเป็นการชาร์จไฟไปในตัว โดยปกติกระแสจากพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์จะมีค่า 5 v. 500 mA. เป็นมาตรฐาน แต่ถ้าถ้าเราเสียบโทรศัพท์กับมือถือเป็นเวลานานๆ จะทำให้แบตเตอรีมือถือเราร้อนและเสื่อมไว หรือบางครั้งเจอเพาวเวอร์สวิชท์ชิ่ง (ซัพพลายคอมฯ) ที่ไม่ได้มาตรฐานก็อาจส่งผลต่อมือถือเราได้เช่นกัน
วงจรนี้จะปรับเอาท์พุทออกเป็น 3-4.5 v. 300-500 mA. ซึ่งเหมาะสมในการชาร์จ
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือเราประยุกต์ในการชาร์จกับโน้ตบุ้ค ในเวลาที่เราเดินทาง ไม่มีกระแสไฟฟ้าหรือแบตเตอรีมือถือเราหมดกระทันหัน ใช้วงจรนี้เชื่อมต่อชาร์จมือถือเราได้สบายๆ

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

stun gun ปืนช็อตไฟฟ้าป้องกันตัว

ทุกวันนี้มีภัยอันตรายมากมายรอบตัวเรา โดยเฉพาะผู้หญิงมักจตกเป็นเครื่องมือความรุนแรงของสังคมเสมอ โครงงานนี้เป็นวงจรช็อตไฟฟ้า ด้วยงบไม่กี่บาทก็สามารถสร้างเครื่องป้องกันตัวจากโจรผู้ร้ายได้
วงจรนี้ใช้ IC555 ยอดนิยมเป็นตัวสร้างความถี่เพื่อให้ทรานซิสเตอร์และหม้อแปลง,ไดโอดผลิตแรงดันไฟสูงออกมาประมาณ 1,000-20,000 โวลท์ (แล้วแต่แรงดันที่ป้อน)  เราอาจใช้แบตเตอรีแบบนิแคดและเพิ่มวงจรเพื่อให้ชาร์จได้เพื่อความสะดวก

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทำคอนแทรคกีตาร์ไฟฟ้า,กีตาร์เบสส์ จากบัลลาสต์เก่า

การทำเบสส์จากกีตาร์โปร่งและคอนแทรคจากบัลลาสต์

ผมเคยเขียนบทความนี้จากบล็อคเก่ามาแล้ว แต่ได้ลบบล็อคและไม่ได้เซพข้อมูลไว้ จนข้อมูลหายไป เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์จึงได้นำกลับมาแบ่งปันเพื่อนๆ อีกครั้งครับ
     ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับหลักการของคอนแทรคกีตาร์ก่อนครับ