วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วัดอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์ด้วย LED miter ราคาประหยัด

ผมเคยใช้ตัวนี้วัดอุปกรณ์มานานแล้วครับ ใช้ง่ายดี ทำก็ไม่ยุ่งยาก เวลาฉุกเฉินหามิเตอร์ไม่ได้ วงจรนี้ก็แก้ขัดได้สบาย เรียนรู้หลักการการวัดนิดหนึ่งก็เข้าใจได้ หรือถ้าเรามีพื้นฐานจากมัลติมิเตอร์แล้วก็คงเข้าใจหลักการการติด-ดับ ของ LED ได้ง่ายขึ้น...

ตุ๊กตาดิ้นได้ตามจังหวะเพลง

มาอีกแล้วครับไอเดียเจ๋งๆ หาอุปกรณ์เก่าๆ ไม่ใช้แล้วมานั่งประดิษฐ์ประดอยของเล่นกันดีกว่า  เป็นตุ๊กตาดิ้นได้ตามเสียงเพลง หลักการง่ายๆ คือ ลำโพงธรรมดาๆ ที่ต่อเข้าเครื่องเสียงนั่นแหละ หน้าเฟรม(กระดาษ) มันจะสั่นไปมาตามสัญญาณเอาท์พุทของแอมป์  เราก็เอาหลักการนี้โดยตัดกระดาษออกให้เหลือแต่วอยซ์คอลย์ที่ยึด เอาลวดแข็งๆ มายึดแล้วนำตุีกตามาห้อย  เมื่อเปิดเพลงมันก็จะสั่นตามจังหวะของสัญญาณเอาท์พุทที่ออกมา....ใครจะไปดัดแปลงทำอะไรต่อก็ว่ากันไป
 

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มุมทดลอง...วิ่งตามแสง

วงจรนี้จะมี LDR เป็นตัวเซนเซอร์ เมื่อถูกแสงจะไปบังคับให้มอเตอร์ทำงาน  เราสามารถนำมาใส่ในรถบังคับเรา เมื่อฉายไฟใส่มันก็จะวิ่งมาตามแสงได้   หรือเมื่อก่อนเราคงอาจจะเคยซื้อเคยเล่นตุ๊กตาสุนัขที่ใช้ถ่าน มันเดินได้หรือกระโดดตีลังกาได้ เราก็ประยุกต์ซะ ติดวงจรนี้เข้าไป เอามาเล่นตอนเย็นๆ มืดๆ ฉายไฟฉายใส่ให้มันเดินตามเรามาก็น่าสนุกดีนะครับ....(วงจรส่วนใหญ่ก็พื้นฐานทั้งนั้น แต่ไอเดียที่เราจะนำมาประยุกต์ดูให้มันแปลกและน่าสนใจนี่สิ มันท้าทายนักอีเลคทรอนิคส์ นักประดิษฐ์อย่างเราครับ...) ใครมีไอเดียเพิ่มเติมก็แชร์กันมานะครับ...


วงจรเตือนเมื่อมีคนมาจับประตูลูกบิดห้อง

สมัยนี้มิจฉาชีพมักมาในรูปแบบต่างๆ บ้างก็มางัดแงะห้องเรา วงจรนี้จะช่วยให้เรารู้ว่ามีคนมาจับหรือสัมผัสลูกบิดประตูห้องเรา มันจะส่งเสียงเตือนทันที หากจะต่อเติมไอเดียเป็นวงจรป้องกันรถก็ได้ โดยเฉพาะรถมอเตอร์ไซด์ โดยเพิ่มวงจรหน่วงเวลาและไซเรนเข้าไปตรงจุด piezo เวลาที่มีใครมาจับหรือขยับรถเรา มันก็จะส่งเสียงเตือนทันที....

ชุดทดลอง...วงจรควบคุมมอเตอร์รถให้วิ่งตามเส้น

เราคงเคยเห็นหุ่นยนต์หรือรถบังคับที่มันสามารถวิ่งตามเส้นสีขาวได้ วงจรนี้เช่นกันมันจะตรวจจับการสะท้อนกลับของแสง เมื่อเซนเซอร์ตรวจพบแสงที่มากกว่าหรือน้อยกว่า มอเตอร์ที่เป็นระบบเซอร์โวจะทำงาน ทำให้วิ่งหรือหยุดไปตามเส้นเทปสีขาวที่เราแปะไว้กับพื้นได้ วงจรนี้น่าศึกษาและประยุกต์ต่อครับ

วงจรตรวจทรานซิสเตอร์ว่าเป็น PNP หรือ NPN

ตรวจดูประเภททรานซิสเตอร์ด้วยวงจรง่ายๆ ครับ เหมาะสำหรับช่างซ่อม


วงจรตรวจจับสายฟ้า

ฟังดูแล้วน่ากลัว แต่จริงๆ เป็นวงจรที่ตรวจดูเมฆฝนที่กำลังจะเข้ามาในพื้นที่ เนื่องจากในเมฆฝนมีประจุไฟฟ้า (-) อยู่ เครื่องนี้จะตรวจจับประจุไฟฟ้าแสดงผลออกมายังบัซเซอร์หรือ LED แต่ไม่ต้องกลัวว่าฟ้าจะผ่านะครับ เพราะวงจรนี้ไม่ใช่ตัวสร้างประจุ (+) ...

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โปรแกรม ECG ลิงก์ของ one2car มีปัญหานะครับ เครื่องผมฟ้องว่ามีไวรัส เลยอัพลิงก์ใหม่ให้ กดโหลดจากหน้าเพจได้เลย    Pass แตกไฟล์ก็ tee2013  หรือที่นี่  http://www.upload-thai.com/download.php?id=1a9e269308cc0db06894d858d696a30e

แจก..อภิมหาวงจรเอฟเฟคเสียงแตกสำหรับกีตาร์ไฟฟ้า

เอฟเฟคกีตาร์เสียงแตกประเภท Fuzz Box, Distortion, Overdrive ครับ จากหลากหลายยี่ห้อชั้นนำ มีทั้งแบบเบสิคและมือโปร...(ดูตามรายชื่อไฟล์นะครับ จะได้รู้ว่ายี่ห้ออะไรบ้าง แฮ่ม..)

วงล้อโอห์ม Ohms Circle อุปกรณ์ช่วยหาค่าตัวต้านทาน

ไม่ต้องใช้มิเตอร์ ไม่ต้องจำโค้ดสี ค่าตัวคูณให้ยุ่งยาก ประดิษฐ์แล้วใช้งานได้เลย...

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มาทำแบตเตอรีสำรองโทรศัพท์จากถ่าน AA กันดีกว่า

หลายคนคงประสบปัญหาเวลาเดินทางไกล มือถือคู่กายก็เผอิญดันแบตหมด ที่ชาร์จก็ไม่มี หรือขึ้นดงขึ้นดอยก็ไม่รู้จะไปชาร์จที่ไหน  มานี่เลย มีโครงการดีๆ มาฝาก ทำที่ชาร์จมือถือด้วยถ่าน(แบตเตอรี) ไฟฉายไซส์ AA เอาไว้พกติดตัวยามฉุกเฉิน ก้อนถ่านก็หาซื้อได้ง่าย ว่าแล้วก็ลุยเลย...
วงจร

สร้างตู้แอมป์กีตาร์อย่างมืออาชีพ

พอดีผมเข้าไปเจอ DIY ของนักดนตรีท่านหนึ่งชาวออสเตรเลีย ที่แบ่งปันการสร้างแอมป์กีตาร์ เลยนำมาแบ่งปันต่อ เป็นแอมป์ 100 w. พร้อมวงจรปรี-โทนคอนโทรล ลองศึกษาดูนะครับ (ตัดออกมาคร่าวๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ส่วนอยากได้รายละเอียดก็คลิ๊กเข้ามาที่นี่ครับ http://sound.westhost.com/project27.htm)

วงจรปรีโทน

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มุมทดลอง...เครื่องส่งโทรทัศน์ (ทั้งภาพและเสียง) ขนาดเล็ก

เป็นวงจรอย่างง่ายๆ ที่ใช้ความถี่ VHF ระบบเสียง FM ให้สัญญาณภาพเป็นระบบ PAL คอลย์ L1 ใช้ลวดทองแดงเบอร์ 24 พัน 4 รอบบนแกนวงกลมขนาด 6 มม.

Mixer 3 ช่องพร้อมลายปริ้นท์


มหากาพย์แอมป์ตระกูล TDA

ไอซีตระกูล TDA เป็นไอซีประเภทออดิโอ หรือพูดง่ายๆ ว่าขยายเสียงนั่นเอง มีการผลิตออกมาหลายร้อยเบอร์ ขนาดตั้งแต่วัตต์เล็กๆ ไม่ถึงวัตต์จนถึง 300-400 วัตต์ เมื่อมีการผลิตไอซีตระกูลนี้ออกมา ทำให้นักอีเลคทรอนิคส์ที่ชอบประกอบเครื่องเสียงต่างทำได้ง่ายขึ้น เพราะวงจรไม่ซับซ้อนยุ่งยากเหมือนวงจรทรานซิสเตอร์   เชิญเลือกตามสบายเลยนะครับ แล้วแต่จะชอบวงจรไหน...

12 วัตต์สเตอริโอ

300+300 วัตต์ กระหึ่มไม่แพ้ใคร


ตู้แอมป์กีตาร์จิ๋วสำหรับพกพา 2 วัตต์

มือกีตาร์ห้ามพลาดด้วยงบประมาณไม่เกิน 300 บาท บวกกับฝีมือประกอบตู้หน่อยก็ได้แอมป์กีตาร์ไว้ใช้เอง เอ้า แถมให้อีกวงจรฟัซซ์ (เสียงแตก) สำหรับโซโล่...

รวมวงจรชาร์จแบตเตอรีแบบตะกั่ว

เข้าหน้าฝนแล้ว ถ้าอยู่ตามบ้านไร่บ้านนาก็หาส่องกบส่องปลา ใส่เบ็ดกันยามค่ำคืน ส่วนใหญ่ก็พกไฟฉายแบบสวมหัวต่อกับแบตเตอรีรถกัน ไฟหมดจะไปจ้างเขาชาร์จก็ข้ามวันข้ามคืน จะซื้อก็แพงไปหน่อย กระนั้นเลยมานั่งทำที่ชาร์จแบตเองดีกว่า ประหยัดแถมยังได้ประสบการ์ณความรู้อีกด้วย ดีไม่ดีรับจ้างประดิษฐ์ขายถูกๆ หรือรับชาร์จหารายได้ก็สบายแฮ...มาดูวงจรกันเลยดีกว่าครับ มีทั้งแบบง่ายๆ และแบบตัดเองเมื่อไฟเต็ม

มหากาพย์เพาเวอร์แอมป์มอสเฟต

 230-400 w.

มหากาพย์เพาเวอร์แอมป์ทรานซิสเตอร์

50 วัตต์ OTL

การทำคอนแทรคกีตาร์โปร่งด้วยลำโพงเพียโซ piezo

             เพียโซ (piezo) เป็นอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์ประเภทหนึ่ง มาจากภาษากรีกที่แปลว่าบีบอัด หรือ กด ทำมาจากแผ่นโลหะ เซรามิคหรือวัตถุธรรมชาติหรือสังเคราะห์ เช่น  แร่ควอร์ทซ์ แร่ทัวร์มารีน ส่วนวัสดุสังเคราะห์ได้แก่ เลดเซอร์โคเนียมไททาเนต (Lead zirconia titanate) ซึ่งนิยมเรียกว่า PZT เลดไททาเนต เซอร์โคเนต (Lead titanate zirconate) และแบเรียมไททาเนต (Barium titanate)  Piezoelectric ถูกนำมาใช้ในการแพทย์และทำเป็นเซนเซอร์ตรวจวัดการกด สั่น แรงดัน หลักการคือสามารถเปลี่ยนปฎิกิริยาแรงสั่นสะเทือนของตัวเพียโซให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้  หลักการตรงกันข้ามถ้าป้อนกระแสเข้าไป ตัวเพียโซเองก็จะเกิดการสั่นสะเทือนขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ลำโพงเพียโซ ซึ่งนิยมนำมาใช้ในอุกรณ์ไฟฟ้า อีเลคทรอนิคส์ทั่วๆ ไป อย่างเช่น เป็นลำโพงบัซเซอร์ ลำโพงทวีตเตอร์ ใช้ในโทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นเกมส์ หรือแม้กระทั่งการ์ดอวยพร (ที่เปิดแล้วมีเพลงบรรเลง)

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รวมแบบตู้ลำโพง


เครื่องวัดค่าตัวเก็บประจุ Capasitor Miter


ชีตสำหรับดูขาอุปกรณ์


วงจรเครื่องขยายอย่างง่ายใช้ IC LM386



วงจรพื้นฐาน การต่อ LED


ตารางทรานซิสเตอร์และเบอร์แทน




มาแล้วครับโปรแกรมเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์และไอซีที่ทุกคนอยากได้

โหลดที่นี่  EGC
พลาสเวริ์ด mannahome

การอ่านค่าตัวเก็บประจุ


การอ่านค่าแถบสีตัวต้านทาน

ตารางขาทรานซิสเตอร์เบอร์ยอดนิยม


อุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์เบื้องต้น ซีเนอร์ไดโอด Zener diode

ซีเนอร์ไดโอด (Zener diode) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำจัดอยู่ในจำพวกไดโอด แต่ใช้งานเพื่อนำกระแสเมื่อได้รับไบอัสกลับ และระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานได้เรียกว่า ระดับแรงดันพังทลายซีเนอร์ (Zener Breakdown Voltage ; Vz) ซีเนอร์ไดโอดจะมีแรงดันไบอัสกลับ (Vr) น้อยกว่า Vz เล็กน้อย ไดโอดประเภทนี้เหมาะที่จะนำไปใช้ควบคุมแรงดันที่โหลดหรือวงจรที่ต้องการแรงดันคงที่ เช่น ประกอบอยู่ในแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง หรือโวลเทจเรกูเลเตอร์


อุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์เบื้องต้น หม้อแปลงทรานฟอร์เมอร์ Transformer

หม้อแปลง หรือหม้อแปลงไฟฟ้า (transformer) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ในการส่งผ่านพลังงานจากวงจรไฟฟ้าหนึ่งไปยังอีกวงจรโดยอาศัยหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า โดยปกติจะใช้เชื่อมโยงระหว่างระบบไฟฟ้าแรงสูง และไฟฟ้าแรงต่ำ หม้อแปลงเป็นอุปกรณ์หลักในระบบส่งกำลังไฟฟ้า




ทรานฟอร์เมอร์อีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้คือ ออดิโอทรานฟอร์มเมอรฺ (Audio transformer) นิยมใช้ในภาคขยายเสียง
สัญลักษณ์ 

อุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์เบื้องต้น ไอซี (IC)

ไอซี (IC) หรือวงจรรวม หรือ วงจรเบ็ดเสร็จ (integrated circuit หรือ IC) หมายถึง วงจรที่นำเอาไดโอด,ทรานซิสเตอร์ตัวต้านทานตัวเก็บประจุ และองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ มาประกอบรวมกันบนแผ่นวงจรขนาดเล็ก ในปัจจุบันแผ่นวงจรนี้จะทำด้วยแผ่นซิลิคอน บางทีอาจเรียก ชิป (Chip) และสร้างองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ ฝังอยู่บนแผ่นผลึกนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า Monolithic การสร้างองค์ประกอบวงจรบนผิวผลึกนี้ จะใช้กรรมวิธีทางด้านการถ่ายภาพอย่างละเอียด ผสมกับขบวนการทางเคมีทำให้ลายวงจรมีความละเอียดสูงมาก สามารถบรรจุองค์ประกอบวงจรได้จำนวนมาก ภายในไอซี จะมีส่วนของลอจิกมากมาย ในบรรดาวงจรเบ็ดเสร็จที่ซับซ้อนสูง เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งใช้ทำงานควบคุมคอมพิวเตอร์ จนถึงโทรศัพท์มือถือ แม้กระทั่งเตาอบไมโครเวฟแบบดิจิทัล สำหรับชิปหน่วยความจำ(RAM) เป็นอีกประเภทหนึ่งของวงจรเบ็ดเสร็จ ที่มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน
ไอซีที่เราพบเห็นและใช้ในการประกอบวงจรอีเลคทรอนิคส์ทั่วๆ ไปที่นิยมได้แก่ ไอซีเบอร์ NE555, ua741, TDA2020 เป็นต้น

สัญลักษณ์ (แล้วแต่ชนิดไอซีและจำนวนขา)




อุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์เบื้องต้น ทรานซิสเตอร์ Transistor

ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์แต่ละชนิดจะมี 3 ขา ได้แก่ 
ขาเบส ( Base : B ) 
ขาอิมิตเตอร์ ( Emitter : E ) 
ขาคอลเล็กเตอร์ ( Collector : C ) 


หากแบ่งประเภทของทรานซิสเตอร์ตามโครงสร้างของสารที่นำมาใช้จะแบ่งได้ 2 แบบ คือ
1) ทรานซิสเตอร์ชนิด พีเอ็นพี ( PNP ) มีสัญลักษณ์ในวงจรเป็น เป็นทรานซิสเตอร์ที่จ่ายไฟเข้าที่ขาเบสให้มีความต่างศักย์ต่ำกว่าขาอิมิตเตอร์
2) ทรานซิสเตอร์ชนิด เอ็นพีเอ็น ( NPN ) มีสัญลักษณ์ในวงจรเป็น เป็นทรานซิสเตอร์ที่จ่ายไฟเข้าที่ขาเบสให้มีความต่างศักย์สูงกว่าขาอิมิตเตอร์

           ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ซึ่งถูกควบคุมด้วยกระแสไฟฟ้าที่ผ่านขา B หรือเรียกว่า กระแสเบส นั่นคือ เมื่อกระแสเบสเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าในขา E (กระแสอิมิตเตอร์) และกระแสไฟฟ้าในขา C (กระแสคอลเล็กเตอร์) เปลี่ยนแลงไปด้วย ซึ่งทำให้ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ปิดหรือเปิดวงจร โดยถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าผ่านขา B ก็จะทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าผ่านขา E และ C ด้วย ซึ่งเปรียบเสมือนปิดไฟ (วงจรเปิด) แต่ถ้าให้กระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยผ่านขา B จะสามารถควบคุมกระแสไฟฟ้าที่มากกว่าให้ผ่านทรานซิสเตอร์แล้วผ่านไปยังขา E และผ่านไปยังอุปกรณ์อื่นที่ต่อจากขา C

อุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์เบื้องต้น ไดโอ Diode



ไดโอดเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ ช่วยควบคุมให้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกไหลผ่านได้ทิศทางเดียว และป้องกันกระแสไฟฟ้าไหลย้อนกลับ จากอุปกรณ์ประเภทขดลวดต่างๆ ไดโอดประกอบด้วยขั้ว 2 ขั้ว คือ แอโนด ( Anode : A )ต้องต่อกับถ่านไฟฉายขั้วบวก ( + )   และแคโทด ( Cathode : K )  ต้องต่อกับถ่านไฟฉายขั้วลบ ( - ) การต่อไดโอเข้ากับวงจรต้องต่อให้ถูกขั้ว ถ้าต่อผิดขั้วไดโอดจะไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานในวงจรไม่ได้ซึ่งสัญลักษณ์ของไดโอดในวงจรไฟฟ้า เป็น

ไดโอดบางชนิดเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะให้แสงสว่างออกมา เราเรียกว่า ไดโอดเปล่งแสง หรือ แอลอีดี ( LED) ซึ่งย่อมาจาก Light Emitting Diodeและมีสัญลักษณ์ในวงจรเป็น 

จากภาพจะเห็นว่า LED มีขายื่นออกมาสองขา ขาที่สั้นกว่าคือ ขั้วแคโทด (ขั้วลบ) และขาที่ยาวกว่าคือ ขั้วแอโนด (ขั้วบวก) ไดโอดเปล่งแสงนี้มีลักษณะคล้ายๆหลอดไฟเล็กๆ กินไฟน้อย และนิยมนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น ไฟกะพริบตามเสียงเพลง ไฟหน้าปัดรถยนต์ ไฟเตือนในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไฟที่ใช้ในการแสดงตัวเลขของเครื่องคิดเลข เป็นต้น